5 สิงหาคม 2567
ในปัจจุบัน ความกังวลเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าจากจีนและต่างประเทศ ทั้งในแง่ของผลกระทบต่อธุรกิจไทยและความปลอดภัยของสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อสินค้าถูกสั่งผ่านอีคอมเมิร์ซและส่งตรงจากโรงงานต่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหากไม่ได้มาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องตรวจสอบ
“ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” รวมถึงอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และวัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน ต้องได้รับการอนุญาตหรือตรวจสอบก่อนเข้าสู่ประเทศไทย โดยจะมีด่านอาหารและยาทั่วประเทศ 52 แห่ง ทำหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย
ข้อมูลการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ
จากข้อมูลการนำเข้าผ่านระบบ National Single Window (NWS) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
- ปี 2565 : 1,487,964 รายการ มูลค่า 4.28 แสนล้านบาท
- ปี 2566 : 1,693,236 รายการ มูลค่า 4.40 แสนล้านบาท
- ปี 2567 : 1,307,194 รายการ มูลค่า 3.41 แสนล้านบาท
การนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพปี 2567
ในช่วงตุลาคม 2566 – มิถุนายน 2567 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายประเภท เช่น
- เครื่องมือแพทย์ : 527,863 รายการ มูลค่า 57,699 ล้านบาท
- อาหาร : 445,591 รายการ มูลค่า 170,165 ล้านบาท
- เครื่องสำอาง : 298,165 รายการ มูลค่า 27,922 ล้านบาท
- ยา : 32,533 รายการ มูลค่า 82,683 ล้านบาท
- วัตถุอันตราย : 2,653 รายการ มูลค่า 1,886 ล้านบาท
- ยาเสพติด : 389 รายการ มูลค่า 496 ล้านบาท
การตรวจสอบและควบคุมการนำเข้า
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะดำเนินการตรวจสอบอย่างเท่าเทียมกันในทุกประเทศ แต่จะมีการจัดกลุ่มระดับความเสี่ยงและใช้วิธีการตรวจสอบที่เหมาะสม
การแบ่งกลุ่มผู้นำเข้า
ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่ายจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
- ผู้นำเข้าคุณภาพสูง (GIP Plus) : ผ่ปัจจุบันมี 23 บริษัท โดยได้การอำนวยความสะดวกพิเศษในการนำเข้า หากเป็นอาหารได้รับตรวจปล่อยอัตโนมัติ ผลิตภัณฑ์อื่นได้รับการตรวจปล่อยรวดเร็ว
- ผู้นำเข้าปกติ : คือ ผู้นำเข้าที่ไม่ได้รับGIP Plus เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบปกติ มีการสุ่มเก็บตัวอย่าง เปิดตรวจสินค้า ตรวจสอบเอกสารปกติ และระบบe-Q และ e-Tracking
- ผู้นำเข้ากลุ่มเสี่ยง : คือ ผู้นำเข้าที่มีประวัติถูกดำเนินคดี เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบอย่างเข้มงวด ต้องพิสูจน์ความปลอดภัยของสินค้า ทั้งนี้ จะมีการกักกันสินค้า เก็บตัวอย่างตรวจ และอายัดสินค้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อใช้ส่วนตัว
คนไทยสามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อใช้ส่วนตัวตามปริมาณที่กำหนด เช่น
- อาหาร : รวมทุกรายการไม่เกิน 20 กิโลกรัมหรือ 20 ลิตร ห้ามนำเข้าอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง ,เครื่องสำอาง ชนิดละไม่เกิน 6 ชิ้น รวมแล้วไม่เกิน 30 ชิ้น ห้ามนำเข้า
- เครื่องสำอาง : เครื่องสำอาง ชนิดละไม่เกิน 6 ชิ้น รวมแล้วไม่เกิน 30 ชิ้นห้ามนำเข้าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชา
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพร : ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ปริมาณสำหรับใช้ได้ไม่เกิน 90 วัน เป็นต้น ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ด่านอาหาร และยา ที่ท่าอากาศยานนานาชาติทุกแห่งจะมีการสุ่มเรียกตรวจบางคน
การตรวจสอบพัสดุไปรษณีย์
กรณีการสั่งซื้อสินค้าจากอีคอมเมิร์ซและส่งตรงจากต่างประเทศ ทางด่านศุลกากรจะส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาตรวจสอบ หากพบว่าข้อมูลไม่ตรงกับที่แจ้งไว้ จะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่สั่งเข้ามา
ข้อแนะนำ
ภก.เลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แนะนำว่าไม่ควรสั่งผลิตภัณฑ์สุขภาพจากต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และไม่มีฉลากภาษาไทย เพราะอาจจะได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ตรวจสอบไม่ได้ ไม่รู้แหล่งที่มาการผลิต ไม่สามารถร้องเรียนได้หากเกิดผลกระทบ
การนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์
เริ่มปี 2567 สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นการขานรับนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power โดยจะพิจารณาอนุญาตภายใน 24 ชั่วโมง แต่ให้นำเข้าได้ในปริมาณที่จำเป็น และต้องส่งกลับหรือทำลายภายใน 30 วันหลังถ่ายทำเสร็จ
การสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์หลังนำเข้า
แม้จะมีการตรวจสอบก่อนนำเข้าประเทศ แต่หลังจากวางจำหน่าย เจ้าหน้าที่ อย. จะสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ทั้งแบบมีหน้าร้านและผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หากพบความผิดก็จะดำเนินคดีตามกฎหมาย
อย่างเช่น เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 อย.ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. และเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร 4 เขต ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ เขตหลักสี่ เขตบึงกุ่ม และเขตห้วยขวาง) เข้าตรวจซูเปอร์มาร์เก็ตจีน จำนวน 11 แห่ง พบอาหารไม่มีเลข อย. ไม่มีฉลากภาษาไทย หรืออาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง เข้าข่ายฝ่าฝืน มาตรา 6 (10) มีโทษตามมาตรา 51 พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท เป็นต้น
แหล่งที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1138674