คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน หรือ คปอ
คปอ ย่อมาจาก คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙
- กําหนดให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการประเภทที่กําหนด ที่มี ลูกจ้างตั้งแต่ ๕๐ คนขึ้นไป จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางานของสถานประกอบกิจการ เพื่อให้เกิดกลไกความร่วมมือระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในการบริหาร จัดการความปลอดภัยฯ
- โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้กําหนดวิธีการในการได้มาซึ่งคณะกรรมการความปลอดภัยฯ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ และหน้าที่ของนายจ้างที่มีต่อคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549, 2553
กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับแก่สถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
- เหมืองแร่ เหมืองหิน ปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
- โรงงานอุตสาหกรรม อู่ตอ่ เรือ ธุรกิจพลังงาน
- งานก่อสร้าง
- การขนส่งคมนาคมทั้งคนโดยสารและการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
- สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
- โรงแรม
- ห้างสรรพสินค้า
- สถานพยาบาล
- สถาบันทางการเงิน
- สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
- สถานบันเทิง กีฬา นันทนาการ
- สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
- สํานักงานที่สนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (1) ถึง (12)
- กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด
ซึ่งการที่จะเป็น คปอ ได้จะต้องทำการเลือกตั้งในฝั่งของลูกจ้าง และ ทำการแต่งตั้งในฝั่งของนายจ้างตามสัดส่วน
- สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50-99 คนให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 1 คนเป็นกรรมการ ผู้แทนลูกจ้าง 2 คนเป็นกรรมการ จป.เทคนิคขั้นสูงหรือ จป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ
- สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100-499 คน ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 7 คน ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 2 คนเป็นกรรมการ ผู้แทนลูกจ้าง 3 คนเป็นกรรมการ จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ
- สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 11 คน ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 4 คนเป็นกรรมการ ผู้แทนลูกจ้าง 5 คนเป็นกรรมการ จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ
โดยกรรมการมีวาระ 2 ปี และหากคณะกรรมการมีมากกว่าขั้นต่ำ ให้เพิ่มกรรมการจากผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากันซึ่งในแต่ละตำแหน่งนั้นสามารถดำเนินการได้ ดังนี้
> ประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายจ้างสามารถแต่งตั้งได้เลย<<
> ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง จะต้องมีการเลือกตั้งให้เป็นตามกฎหมายกำหนด<<
> เลขานุการที่เป็น จป.วิชาชีพหรือ จป.เทคนิคขั้นสูง<<
นายจ้างสามารถแต่งตั้งได้ตามความเหมะสม กรณีไม่มี จป.วิชาชีพ หรือ จป.เทคนิคขั้นสูง ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้างมาเป็น
หน้าที่ของ คปอ มีดังนี้
- พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
- รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
- ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ
- พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
- สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
- พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
- วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
- ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
- รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
- ประเมิณผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
คปอ ถือได้ว่าเป็นคณะที่มีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้พนักงานเกิดอุบัติเหตุ หากท่านใดสนใจอยากอบรม คปอ เราขอแนะนำให้เลือกศูนย์ฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานและได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการเช่น จป ไทย และหากอบรมเสร็จแล้วให้รีบนำไปขึ้นทะเบียนตามขั้นตอนของราชการเพื่อให้บริษัทเราทำได้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นเอง