8 สิงหาคม 2567
หลังจากการประมูลพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯ มูลค่า 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ พบว่ามีอัตราการประมูล (bid-to-cover) อยู่ที่ 2.32 เท่า ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ค่าเฉลี่ยตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ 2.43 เท่า โดยมีค่าสูงสุดที่ 2.50 เท่า ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ส่งผลให้เป็นเช่นนี้ คือ
- ผลตอบแทนพันธบัตรลดลงมาเร็วเกินไป และสะท้อนการปรับลดดอกเบี้ยในระดับประมาณ 5 ครั้งแล้ว
- ตลาดอาจกังวลว่าการลดดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น กระตุ้นการ Unwind Yen Carry Trade ทำให้สหรัฐฯ อาจลดดอกเบี้ยได้ไม่เร็วดังคาด
ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงไปสูงสุดถึง 147.9 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ อาจเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การฟื้นตัวของสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้นอาจเริ่มชะลอ เพื่อรอดูพัฒนาการของสถานการณ์ โดยเฉพาะการประชุมประจำปีของเฟดในวันที่ 22-24 สิงหาคม ในระยะสั้นคาดว่าตลาดจะกลับไปมองยังการรายงานผลประกอบการของหุ้นรายตัว รวมถึงติดตามรายงานการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันนี้ ซึ่งเนื้อหาการหารืออาจทำให้ตลาดกังวล
การยุบพรรคก้าวไกลและผลกระทบต่อตลาด
ส่วนการยุบพรรคก้าวไกลมีผลต่อตลาดจำกัด โดยคดีสำคัญ คือ การพิจารณาคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้ยุบพรรคก้าวไกล ส่งผลให้พรรคถูกยุบและสมาชิกคณะกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี เรามองว่าจิตวิทยาการลงทุนได้รับผลกระทบเชิงลบแต่ผลกระทบต่อตลาดหุ้นนั้นมีจำกัด เนื่องจากไม่กระทบต่อการดำเนินนโยบายของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม คดีสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดมากกว่า คือ การพิจารณาคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีในวันที่ 14 สิงหาคม หากศาลตัดสินให้คุณเศรษฐาพ้นตำแหน่ง อาจทำให้เกิดความกังวลต่อความล่าช้าของการผลักดันโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวนโยบาย อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่พรรคแกนนำยังคงเป็นเพื่อไทย เรามองว่านโยบายต่างๆ จะยังคงถูกผลักดันแม้ในกรณีเกิดความเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ภาพรวมกลยุทธ์
การฟื้นตัวอาจเริ่มชะลอ ติดตามรายงานการประชุม BOJ ที่อาจกำหนดทิศทางของตลาดจากประเด็น Yen Carry Trade ทั้งนี้มีโอกาสที่เงินจะเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย เช่นพันธบัตร และสินทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง เช่น ไฟฟ้า และรีทส์ ซึ่งจะแข็งแกร่งกว่าตลาด ในขณะที่ใช้จังหวะผันผวนสะสมหุ้นที่มีโมเมนตัมกำไรขาขึ้น เช่น สื่อสาร อาหาร และค้าปลีก
- แนวรับ : 1,270-1,282 จุด
- แนวต้าน : 1,305 จุด
สัดส่วนลงทุน : เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
- CPNREIT* (13) : กลุ่มโรงไฟฟ้าและรีทส์มีแนวโน้มเป็นกลุ่มพักเงินในช่วงที่เงินย้ายจากกลุ่มเทคโนโลยีไปยังกลุ่มอื่นๆ ตัดขาดทุนที่ 10.50 บาท
- RATCH* (36) : ผลประกอบการไตรมาส 2-3/67 แข็งแกร่ง จากการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าหินกองและไพธอน ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปีนี้ 8 เท่า และปันผล 6% ตัดขาดทุนที่ 27 บาท
- 3BBIF* (6.50) : กลุ่มกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง ขณะเดียวกันการปรับโครงสร้างในกลุ่มของ GULF-INTUCH เป็นปัจจัยบวกระยะยาวต่อการมีสินทรัพย์ที่จะขายเข้ากองเพิ่มเติม ตัดขาดทุนที่ 5.35 บาท
- GUNKUL* (2.40) : ผลประกอบการไตรมาส 2/67 เติบโต QoQ, YoY และเข้าสู่ high season ในไตรมาส 3 ขณะเดียวกันผลตอบแทนปันผลระหว่างกาลสูงถึง 4% ตัดขาดทุนที่ 1.955 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ยุบพรรคก้าวไกล ตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร 10 ปี
- ฮุนไดเข้าลงทุนในไทย 1 พันล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BEV
- EIA เผยสต็อกน้ำมันดิบลดลงมากกว่าคาด
- ADVANC กำไรสุทธิ Q2/67 โต 19% หลังรับรู้ EBITDA ของ TTTBB ยอดผู้ใช้ 5G โตแกร่ง
- BSRC กำไรครึ่งปีแรก 1,077 ล้านบาท สร้างสถิติการกลั่นสูงสุด–ยอดขายโตต่อเนื่อง
- ICHI ไตรมาส 2/67 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 378.87 ล้านบาท
- ITC แนะนำ “ซื้อ” เป้า 27 บาท/ STEC แนะนำ “ถือ” เป้า 9.20 บาท/ MEB แนะนำ “ซื้อ” เป้า 42 บาท
- ผลประกอบการไตรมาส 2/64 ออกมาดี MEB, GUNKUL, SAV, TNP, TNR, TPCH, TU
แหล่งที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/finance/analysis/1139354