Home » อยากอบรม คปอ. ให้ถูกกฎหมาย ต้องเช็คอะไรบ้าง

อยากอบรม คปอ. ให้ถูกกฎหมาย ต้องเช็คอะไรบ้าง

by Andrew Day
60 views

บางสถานประกอบการถูกกำหนดโดยกฎกระทรวง 2565 ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน หรือที่เราเรียกติดปากว่า คปอ.  เมื่อองค์กรมีมีลูกจ้างทั้งหมดเริ่มต้น 50 คนขึ้นไป ต้องมี คปอ. ในองค์กรตามจำนวนที่กำหนด ซึ่งต้องผ่านการอบรม คปอ. และขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องก่อน

ก่อนเข้าอบรม คปอ. ต้องเช็คอะไรบ้าง

ก่อนจะส่งพนักงานเข้าอบรม คปอ. มีสิ่งที่นายจ้างต้องคำนึงถึงเพื่อไม่ให้เสียเวลา หรือเสียเงินค่าอบรมฟรีๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

2.เช็คประเภทสถานประกอบการก่อนอบรม คปอ copy

1. เช็คสถานประกอบการของคุณต้องมี คปอ. ไหม

จากกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้แบ่งประเภทองค์กรที่ต้องมี คปอ. ไว้เป็น บัญชีที่ 1 2 และ 3 ตามความเสี่ยงของธุรกิจแต่ละองค์กรซึ่งแต่ละบัญชีประกอบด้วยธุรกิจต่อไปนี้

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

3.มีจำนวนลูกจ้างมากพอที่ต้องมี คปอ copy

2. มีจำนวนลูกจ้างมากพอที่ต้องมี คปอ. ไหม

เมื่อคุณทำการเช็คแล้วว่าธุรกิจของคุณอยู่ใน บัญชีใดบัญชีหนึ่งที่กล่าวมาในข้อที่ 1 ต่อไปเราก็จะไปดูว่าจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในบริษัทของคุณมีจำนวนตามเงื่อนไขกฎหมายที่ต้องมี คปอ. ไหม และหากต้องมีแล้วตั้งแต่งตั้ง คปอ. กี่คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • จำนวนพนักงานในองค์กร 50-99 คน ต้องมีจำนวน คปอ. ไม่น้อยกว่า 5 คน
  • จำนวนพนักงานในองค์กร 100-499 คน ต้องมีจำนวน คปอ. ไม่น้อยกว่า 7 คน
  • จำนวนพนักงานในองค์กรตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ต้องมีจำนวน คปอ. ไม่น้อยกว่า 11 คน

3. คปอ. ในองค์เลือกเลือกยังไง มาจากไหนบ้าง

ในการจะเลือกใครมารับตำแหน่ง คปอ. จะมีอยู่ 2 วิธี

  • เลือกจากนายจ้างโดยจะได้รับตำแหน่งในคณะ คือ ประธานกรรมการ กรรมการความปลอดภัย (พนักงานที่อยู่ในระดับหัวหน้างาน) และ เลขานุการ (ปกติจะเป็น จป.เทคนิคขั้นสูง หรือจป.วิชาชีพ แต่หากองค์กรไม่มี สามารถใช้ผุ้แทนที่นายจ้างเป้นคนเลือกได้)
  • เลือกจากลูกจ้างโดยจะได้รับตำแหน่งในคณะ คือ กรรมการความปลอดภัย

4. เลือกสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตจัดอบรม

ในการจัดอบรมได้นั้นไม่ใช่ใครก็จัดได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตในการจัดอบรม ที่แสดงถึงเนื้อหาหลักสูตรที่สอนตรงกับที่กฎหมายกำหนด วิทยากรฝึกสอนมีคุณสมบัติเพียงพอ และเมื่อผู้เข้าอบรมผ่านอบรมจากศูนย์ฝึกนี้สามารถใช้ยื่นขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการฯได้จริง ซึ่งนายจ้างสามารถเช็คศูนย์อบรม.คปอ. ตามกฎหมาย ได้ง่ายๆ ที่หน้าเว็บกรมสวัสดิการฯ

ขั้นตอนการเช็คศูนย์อบรม คปอ.

  1. กดเข้าเว็บไซต์ –> ตรวจเช็คศูนย์ฝึกอบรมที่ได้รับอนุญาต  
  2. เลือกหัวข้อแรก ที่ชื่อว่า รายชื่อนิติบุคคลที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รับรองการเป็นผู้ให้บริการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  3. กด f3 ค้นหาตามชื่อศูนย์ฝึกที่สนใจ หากรู้เลขใบรับรองของศูนย์ฝึกนั้นๆ ก็สามารถใช้คนหาได้ เช่น ในส่วนนี้สามารถเช็คได้ทั้ง หลักสูตร จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร จป.เทคนิค จป.เทคนิคขั้นสูง และ คปอ.

5. เลือกรูปแบบการจัดอบรมให้คุ้มค่า

ส่วนใหญ่ศูนย์อบรมจะมีให้คุณเลือก อบรมอยู่ 2 รูปแบบคือ อินเฮ้าส์ และบุคคลทั่วไป

  • แบบอินเฮ้าส์ คือ ผู้จัดอบรมเดินทางมาสอนคุณถึงสถานที่ของคุณ จะเป็นการจ่ายแบบเหมาคอร์ส จำนวนคนไม่เกิน 60 คน เหมาะกับองค์กรที่ต้องการอบรมคนพร้อมกันเป็นจำนวนมาก และมีสถานที่ในการจัดอบรม
  • แบบบุคคลทั่วไป คือ ต้องส่งพนักงานเข้าอบรมตามสถานที่ที่ศูนย์ฝึกจัดเตรียมไว้ให้ โดยต้องมีการลงทะเบียนจองวันอบรม เหมาะกับองค์กรที่ต้องการอบรมคนน้อย ไม่จำเป้นต้องจ่ายเป็นเหมาคอร์ส แต่ต้องรีบจองเพราะเต็มเร็ว

6. ใบอนุญาตทำงาน คปอ. มีวันหมดอายุ

ใบเซอร์ คปอ. มีอายุการใช้งานเพียง 2 ปีเท่านั้น เท่ากับวาะระของ คปอ. ในรุ่นนั้นๆ ที่ทำงานเพียง 2 ปี และต้องมีรุ่นใหม่เข้ามาทำงานแทน ทางบริษัทต้องเตรียมความพร้อมก่อนใบอนุญาตของรุ่นเก่าจะหมดอายุโดนเตรียมอบรมรุ่นต่อไปภายใน 30 วันก่อนหมดอายุ

7. เข้าอบรมได้ต่อเมื่อองค์กรเป็นคนส่งเข้าอบรมเท่านั้น

เนื่องจากในตำแหน่ง คปอ. เป็นงานที่เฉพาะองค์กรนั้นๆ หากคุณลาออกจากองค์กรเก่าแล้วก้ไม่สามารถใช้ใบอนุญาตองค์กรเก่าไปทำงานในองค์กรใหม่ได้ ต้องอบรมใหม่เท่านั้น เพื่อหลีกเหลี่ยงปัญหาที่ไม่ทราบในจุดนี้ ที่ทำให้ผู้เข้าอบรมอาจเสียประโยชน์เปล่า ทำให้ก่อนจะเข้าอบรมต้องมีเอกสารยินยอมจากองค์กรให้เข้าฝึก

สรุป

จาก 7 ข้อเบื้องต้น เป็นรายละเอียดตามกฎหมายที่คุณไม่ควรพลาดก่อนจะเลือกที่ฝึกอบรม คปอ. ทั้งนี้ยังมีระละเอียดอื่นๆ เช่น ค่าอบรม สถานที่อบรมที่สะดวกเดินทาง และอื่นๆ ที่ยังเป้นปัจจัยต่อการตัดสินใจอบรม ทั้งนี้เราขอแนะนำศูนย์ฝึกที่มีความพร้อมจัดอบรมตามกฎหมายอย่าง บริษัท เซฟตี้เมมเบอร์ จำกัด หรือที่เว็บไซต์ อบรมคปอ.com คุณสามารถคลิกเข้าไปดูที่ลิ้งเพื่อเลือกหลักสูตรที่คุณต้องการได้

บทความที่น่าสนใจ :

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับเรา

Orderbride เป็นเว็บไซต์บทความความปลอดภัยในการทำงาน ที่ช่วยเติมเต็มความรู้ด้านความปลอดภัยของคุณในทุกวัน

@2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by Orderbride