Home » เราควรติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire alarm อย่างไรให้ถูกต้อง

เราควรติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire alarm อย่างไรให้ถูกต้อง

by Andrew Day
68 views

การติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire alarm

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เป็นระบบการเตือนภัยก่อนเกิดเหตุ ซึ่งในวันนี้ เราจะมาเล่าถึงการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ว่าควรจะต้องเริ่มต้นอย่างไรให้ถูกต้องและมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับระบบ Fire alarm ตั้งแต่เริ่มต้น

 

ถังดับเพลิง

 

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ประกอบไปด้วย

  • ตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm Control Panel ทำหน้าที่เป็นหัวใจ และ มันสมองในการควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะทำการรับสัญญาณและส่งสัญญาณต่างๆ มายังตู้ควบคุมเพื่อประมวลผลว่าในแต่ละจุด มีการรับสัญญาณเกี่ยวกับเพลิงไหม้ต่างๆ
  • หลังจากนั้นตู้ควบคุมจะทำการประมวลผลตามโปรแกรมเพื่อส่งสัญญาณแจ้งเหตุ ให้เกิดเสียงดังรวมไปถึงการส่งสัญญาณให้เกิดไฟเตือน ปัจจุบัน ตู้ควบคุมระบบ Fire alarm นั้นมีมากมายหลายรุ่น เช่น เทคโนโลยีในปัจจุบันมีความทันสมัยเป็นอย่างมาก สามารถที่จะส่งสัญญาณไปตัดระบบไฟต่างๆ เช่น เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีการกดสัญญาณแจ้งเหตุเข้ามาตู้ควบคุมจะทำการตัดระบบไม่ให้ลิฟท์โดยสารนั้นสามารถใช้งานได้
  • เนื่องจากว่าหากมีการใช้ลิฟท์ขนส่งโดยสารจะทำให้เกิดอันตรายและไม่ปลอดภัย เราควรเดินไปยังจุด ทางออกฉุกเฉินเพื่อมองหาประตูฉุกเฉินและลงไป ไปยังบันไดหนีไฟจนถึงด้านล่างของอาคารหรือภายนอกอาคารไปจนถึงจุดรวมพลอย่างปลอดภัยนั่นเอง
  • ตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เราควรเลือกจากความเหมาะสมซึ่งในปัจจุบันถ้าหากเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ตู้ควบคุมก็จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณได้มากมายตามขนาดและราคาของมันเอง

 

ปุ่มกดสัญญาณไฟไหม้

 

อุปกรณ์ในการส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุมมีอะไรบ้าง

  • อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Heat Detector

คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจจับความร้อนและอุณหภูมิ ซึ่งหลักการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าวจะติดตั้งเอาไว้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการลุกไหม้ของไฟให้ทันท่วงที เช่น บริเวณห้องนั้นเป็นห้องเก็บสารเคมี หรือน้ำมัน เมื่อเกิดเพลิงไหม้ก็จะเกิดเปลวไฟ หรือความร้อนแบบทันท่วงที จึงเหมาะกับการติดอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนในพื้นที่ดังกล่าว Heat Detector ไม่สามารถตรวจจับควันไฟได้

ดังนั้นเราควรจะต้องพิจารณาถึงวัสดุประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสม ไม่เช่นนั้น หากเราทำการติดอุปกรณ์ผิดจะทำให้ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของเรานั้น ไม่ส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุมเพื่อทำการแจ้งเตือนนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากห้องนั้นเป็นห้องจัดเก็บเอกสารกระดาษ กรณีที่มีการลุกไหม้ธรรมชาติของมันจะเกิดควันไฟก่อน ดังนั้นเมื่อควันไฟลอยสูงขึ้นและ ไปสัมผัสกับตัว Heat Detector จะทำให้อุปกรณ์ไม่ทำงานเพราะ Heat Detector นั้นจะตรวจจับแค่ความร้อนและอุณหภูมินั่นเอง

  • Smoke Detector หรืออุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ

ทำหน้าที่ในการตรวจจับควันไฟอุปกรณ์ดังกล่าวจะไม่สามารถทำการตรวจจับความร้อนได้ ตามธรรมชาติของอุปกรณ์ชนิดนี้ จะทำงานต่อเมื่อมีควันไฟมากระทบสัมผัสกับตัวอุปกรณ์ ซึ่งเหมาะสำหรับติดตั้งในห้องหรือพื้นที่ๆเป็นเพลิง ประเภท A คือเชื้อเพลิงกระดาษไม้ พลาสติก เป็นต้น โดยส่วนใหญ่อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟนิยมติดตั้งภายใน ห้อง ออฟฟิศทำงานและห้องจัดเก็บเอกสาร ซึ่งเมื่อเกิดควันอุปกรณ์จะทำการส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทันที

  • ปุ่มกดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

อุปกรณ์ชนิดนี้จะทำงาน ต่อเมื่อมีคนไปกดหรือสัมผัสอย่างตั้งใจ นิยมติดตั้งไว้บริเวณทางออกฉุกเฉินเพราะเมื่อเราพบว่ามีเหตุเพลิงไหม้และทำการอพยพ หรือหนีไฟเพื่อเอาชีวิตรอด ก่อนที่เราจะวิ่งออกไปสู่ทางออกฉุกเฉินก็จะพบเห็นกับปุ่มกดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไม่เพื่อเตือนและส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ให้เพื่อนร่วมอาคารหรือร่วมชั้น ได้ทราบว่ามีเหตุฉุกเฉินไฟไหม้และทำการอพยพออกมาจากบริเวณดังกล่าวอย่างรวดเร็ว

 

sprinkles

 

สรุป:

เราควรติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เอาไว้ ในสถานประกอบกิจการของเราเพื่อความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายด้านอัคคีภัยและชีวิตของคนทำงาน เรื่องดังกล่าวนายจ้างต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องของกฎหมายกำหนดรวมไปถึงการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ควรทำการติดตั้งให้ได้ตรงตามมาตรฐาน

เพื่อให้ระบบ  Fire alarm นั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราควรมีการตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้อย่างเป็นประจำทุกปีโดยผู้ชำนาญการและเพื่อความปลอดภัยของเราทุกคน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับเรา

logo Orderbride

เว็บไซต์บทความความปลอดภัยในการทำงาน ที่ช่วยเติมเต็มความรู้ด้านความปลอดภัยของคุณในทุกวัน

เรื่องน่าสนใจ

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by Orderbride